วัดนักบุญอันนา
หนองแสง
ตั้งอยู่บนถนนสุนทรวิจิตร
บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม คุณพ่อเอดัวร์ นำราภ
อธิการโบสถ์ วัดนักบุญอันนา หนองแสง สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1926 วัดนี้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนานาชาติที่มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่และเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าชมยิ่ง
สวนหลวง ร. 9
จังหวัดนครพนม
สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชสักการะ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เป็นสวนสาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครพนมทางด้านทิศเหนือ
เขื่อนหน้าเมืองนครพนม
เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่อยู่ในเขตเทศบาลเมือง
สำหรับชมทิวทัศน์อันวิจิตรของแม่น้ำโขง
ซึ่งเป็นเส้นใยสำคัญไหลผ่านตัวเมืองโดยเฉพาะภาพพระอาทิตย์ที่โผล่ทิวเขาเหนือลำน้ำโขงนั้นเป็นภาพที่หาดูได้ยากยิ่ง
บริเวณเขื่อนหน้าเมืองนี้อยู่ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก
แขวงคำม่วนประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
วัดโอกาส
วัดโอกาสหรือวัดโอกาสศรีบัวบาน
เป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองนครพนมและเป็นที่ประดิษฐานพระติ้วและพระเทียมพระพุทธรูปแฝดอันศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครพนมมาแต่โบราณ นอก
จากนี้ภายในโบสถ์ยังมีภาพจิตรกรรมที่สวยงามน่าชมด้วย
สิ่งที่น่าสนใจ
พระติ้วและพระเทียม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสององค์ที่มีพุทธลักษณะเหมือนกันทุกประการ
แกะสลักจากไม้ตะเคียน ขนาดหน้าตักกว้าง 39 ซม. สูง 60
ซม. ประดิษฐานในบุษบกทรงปราสาทที่ตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธานในโบสถ์
พระเทียมอยู่ทางขวามือของพระประธาน ส่วนพระติ้วอยู่ทางซ้ายพระติ้วและพระเทียมมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ
กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีมาแต่ครั้งอาณาจักรศรีโคตรบูรกำลังรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าศรีโคตรบูรหลวง
พระองค์ทรงให้ขุดเรือโกลนเพื่อใช้เป็นเรือพระที่นั่ง เมื่อขุดเรือสำเร็จแล้ว
จึงเคลื่อนเรือ ลงสู่แม่น้ำโขง โดยใช้เครื่องทุ่นแรงที่เป็นไม้หมอนกลมเล็กจำนวนหลายท่อนวางเป็นแนวใต้ท้องเรือ
เพื่อช่วยชักลากเรือให้เคลื่อนไปสะดวกยิ่งขึ้น
แต่ขณะเรือเคลื่อนมาถึงไม้หมอนท่อนหนึ่งซึ่งเป็นไม้ติ้วก็ไม่สามารถเคลื่อนต่อไปได้
ทั้งไม้หมอนนั้นก็กระเด็นออกไป การชักลากเรือต้องใช้ความพยายามอยู่นานจึงนำเรือลงสู่แม่น้ำได้สำเร็จ
เชื่อกันว่า หมอนไม้ติ้วนั้นเป็นพญาไม้ซึ่งมีเทวดาสิงสถิตอยู่
พระเจ้าศรีโคตรบูรหลวงจึงโปรดให้นำไปแกะสลักเป็นพระติ้ว เมื่อวันอังคาร เดือน 7
แรม 8 ค่ำ ปีกุน ตรงกับ พ.ศ. 1327 แล้วจัดพิธีสมโภชเป็นพระมิ่งเมืองนครศรีโคตรบูรต่อมาในสมัยพระเจ้าขัติยวงศาบุตรามหาราชกษัตริย์องค์ต่อมา
ได้เกิดไฟไหม้ในหอพระติ้ว ชาวบ้านไม่สามารถนำพระติ้วออกมาได้
จึงคิดกันว่าพระติ้วคงจะไหม้ไปในกองเพลิง พระเจ้าขัติยวงศาฯ
จึงโปรดให้นำไม้มงคลมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปขึ้นแทนพระติ้ว
พระพุทธรูปองค์ใหม่นี้เหมือนพระติ้วองค์เดิมไม่ผิด เพี้ยน
ในเวลาต่อมาได้พบพระติ้วองค์เดิมในลำน้ำโขง พระเจ้าขัติยวงศาฯ
จึงทรงอัญเชิญมาประดิษฐานคู่กับพระติ้วองค์ใหม่ซึ่งมีพระนามใหม่ว่าพระเทียมนับแต่นั้นมา
ภาพจิตรกรรม ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม เช่น ที่ผนังแต่ละด้านเขียนเรื่องราวในชาดกตอนต่าง ๆ ที่ไม้คอสองซึ่งเป็นแผ่นกระดานเชื่อมหัวเสาแต่ละต้นเขียนเป็นรูปเทพและเทวดาในซุ้มเรือนแก้ว ที่เพดานเขียนเป็นดวงดาวสีทองบนพื้นแดง ส่วนเสาแต่ละต้นเขียนลายกระจังสีสันสดใส
ภาพจิตรกรรม ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม เช่น ที่ผนังแต่ละด้านเขียนเรื่องราวในชาดกตอนต่าง ๆ ที่ไม้คอสองซึ่งเป็นแผ่นกระดานเชื่อมหัวเสาแต่ละต้นเขียนเป็นรูปเทพและเทวดาในซุ้มเรือนแก้ว ที่เพดานเขียนเป็นดวงดาวสีทองบนพื้นแดง ส่วนเสาแต่ละต้นเขียนลายกระจังสีสันสดใส
วัดศรีเทพประดิษฐาราม
วัดศรีเทพประดิษฐาราม ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ถนนศรีเทพ
เยื้องโรงเรียนชุมชนเทศบาล 3
สร้างขึ้นเมื่อ พ. ศ. 2402 ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังรูปพุทธประวัติที่สวยงาม
และยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระแสง
ตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นพร้อมกับพระสุกและหลวงพ่อพระใส (วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย)
ข้างๆโบสถ์มีเจดีย์บรรจุอัฐิของหลวงปู่จันทร์ (พระเทพสิทธาจารย์)
พระเกจิอาจารย์ที่ชาวนครพนมเคารพนับถือ ส่วนรูปปั้นนั้นจะอยู่ในตึกเทพสิทธาราม
และที่น่าชมอีกอย่างหนึ่งคือ อาคารที่สร้างขึ้นใน พ. ศ. 2464 ซึ่งได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมในด้านปูชนียสถานและวัดวาอาราม
จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ
วัดมหาธาตุ
วัดมหาธาตุตั้งอยู่ริมฝั่งโขงภายในตัวอำเภอเมืองนครพนม
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๑๕๐ พร้อมๆกับการสร้างเมืองนครพนมโดยพระมหาอำมาตย์ป้อม
แม่ทัพใหญ่จากเมืองเวียงจันทน์เป็นผู้ควบคุมการสร้าง สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่
พcodiธาตุนคร ลักษณะขององค์พระธาตุมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส สูงประมาณ๒๔เมตร
ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ถือเป็นปูชนียสถานที่เคารพสักการะของชาวนครพนม
นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถเก่าแก่สถาปัตยกรรมพื้นบ้านที่งดงามปัจจุบัน
ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการบูรณะซ่อมแซม
หาดทรายทอง
นับเป็นหาดทรายน้ำจืดที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง
จะมีลักษณะเป็นหาดทรายในฤดูแล้ง (ราวเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม)
บริเวณหาดทรายจะยื่นออกไปกลางลำน้ำโขง
ทำให้ห่างจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวไม่มากนัก
หาดทรายนี้จะอยู่ตรงข้ามกับที่ทำการแขวงคำม่วนพอดี เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและชมความงามของธรรมชาติ
อำเภอธาตุพนม
ตามตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า ท้าวพญาทั้งห้าผู้เป็นใหญ่ ได้แก่พญาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหานหลวง พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลนีพรหมทัต พญาอินทรปัตถ์ เจ้าเมืองอินทปัตถนคร และพญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรณ์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ ได้สร้างอูบมูงขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ตามพุทธพยากรณ์ โดยก่อสร้างด้วยดินดิบ (อิฐดิบ) ฐานพระธาตุพนมได้ขุดลงไปจนเป็นอูบมุง (อุโมง) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกส่วนหน้าอก เมื่อก่อด้วยดินดิบเสร็จแล้ว จึงได้ก่อไฟเผาพระธาตุเป็นเวลากว่าหลายวัน อิฐจึงได้แห้งสนิทจรดกัน ในพระธาตุพนม บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งประมาณ พ.ศ. 8 พระอุตรเถระและพระโสณเถระ สมรทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญมา และพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้า ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุพนมได้รับการบูรณะและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง
พิพิธภัณฑ์ พระอาจารย์บัว เตมิโย
วัดศิลามงคล บ้านหลักศิลา ห่างจากอำเภอธาตุพนมประมาณ 5 กม. มีอัฐิธาตุของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
เครื่องอัฐบริขารของพระอาจารย์บัว เตมิโย
และร่างกายของท่านซึ่งหลังจากมรณภาพแล้วไม่เน่าเปื่อย เป็นที่นับถือของชาวนครพนม
นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปบางต่างๆ ให้ชมกันอีกมาก
วัดหลักศิลา
ตั้งอยู่ที่บ้านหลักศิลา ตำบลพระกลางทุ่ง
เป็นวัดที่เก็บรักษาใบเสมาที่มีอายุเก่าแก่ สันนิษฐานว่า
เป็นใบเสมาที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับใบเสมาในกลุ่มเมืองฟ้าแดดสูงยาง
จังหวัดกาฬสินธุ์
อำเภอท่าอุเทน
พระธาตุท่าอุเทน
พระธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม
สูง 33 วา
จำลองแบบมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า
เรือนธาตุมีสองชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป แต่ละชั้นมีซุ้มประตูหลอกทั้งสี่ทิศ
เหนือซุ้มประตูมีทับหลังเป็นปูนปั้นลายดอกบัวบาน รูปบุคคล และสัตว์ต่าง ๆ
โดยมีลายพรรณพฤกษาเป็นพื้นหลัง
ตามกรอบซุ้มประตูบนเรือนธาตุก็มีลายพรรณพฤกษาประดับอยู่เช่นกันภายในองค์ธาตุเป็นอุโมงค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ซึ่งพระอาจารย์สีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นอก
จากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำและของมีค่าอื่น ๆ ที่ผู้ศรัทธานำมาถวาย บรรจุไว้ในองค์ธาตุด้วยบนกำแพงแก้วรอบองค์ธาตุมีประติมากรรมปูนปั้นฝีมือของพระอาจารย์สีทัตถ์
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุภาษิตคำพังเพยพื้นบ้าน ตลอดจนการจำลองนรก-สวรรค์
เป็นพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญของชาวนครพนมอีกแห่งหนึ่ง
องค์พระธาตุมีลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากพม่า
พระธาตุท่าอุเทนเป็นพระธาตุประจำวันศุกร์
พระบางวัดไตรภูมิ
พระบางวัดไตรภูมิ ประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรภูมิ อำเภอท่าอุเทน
เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรสูง 80 นิ้ว แท่นสูง 2 นิ้วครึ่ง
ฐานรูป 8 เหลี่ยม สูง 15 นิ้ว
และฐานตั้งอยู่บนช้าง 8 เชือก สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2008
เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เชื่อกันว่าถ้านำออกมาแห่จะทำให้ฝนตก
เมื่อพิธีแห่สงกรานต์ต้องนำพระบางออกมาแห่ การเดินทางจากจังหวัดนครพนม ใช้เส้น
ทางหลวงหมายเลข 212 ไปยังอำเภอท่าอุเทน อีกประมาณ 26 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอ จะมีรถสามล้อรับส่งไปวัดไตรภูมิ
อำเภอบ้านแพง
อุทยานแห่งชาติภูลังกา
อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอบ้านแพง ห่างจากตัวอำเภอประมาณ
6 กม. การเดินทางจาก ตัวจังหวัดใช้เส้นทางสายนครพนม-บ้านแพง
ทางหลวงสาย 212 ระยะทางประมาณ 92 กม.
ทางลาดยางตลอด ภูลังกาเป็นต้นกำเนิดของน้ำตก และลำธารใหญ่น้อยหลายสาย
เป็นแหล่งอุดม สมบูรณ์ของดอกไม้ กล้วยไม้ และพรรณไม้นานาชนิด
วนอุทยานน้ำตกตาดขาม
ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปภูลังกา ต้นลำธารเกิดจากเทือกเขาภูลังกา
ซึ่งเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ลำธารนี้ไหลมาบรรจบกันเกิดเป็นลำห้วยขาม
เป็นน้ำตกไหลหลั่นลงมาถึง 4 ชั้น
สภาพโดยรอบบริเวณร่มรื่นเหมาะแก่การไปท่องเที่ยวและพักผ่อน
น้ำตกตาดโพธิ์
กำเนิดจากเทือกเขาภูลังกา อยู่ใกล้กับน้ำตกตาดขาม ห่างกันประมาณ 5
กม. มีลักษณะสวยงามไม่น้อยกว่ากัน
โดยเฉพาะในฤดูฝนสามารถมองเห็นน้ำตกนี้ได้จากทางหลวงแผ่นดินที่เลียบแม่น้ำโขง
การเดินทางอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านแพงประมาณ 11 กม. รถยนต์ไม่สามารถเข้าไปถึงตัวน้ำตกได้ต้องเดินขึ้นไปประมาณชั่วโมงเศษ
สองข้างทางร่มรื่นเหมาะแก่การชมความงามของธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง
อำเภอเรณูนคร
เรณูนคร
อยู่ห่างจากพระธาตุพนม 15 กม.
และห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้ 51 กม.
ตามทางหลวงหมายเลข 212 ถึงประมาณกม.ที่ 44 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2031 อีกประมาณ 7
กม. ทางลาดยางตลอด เรณูนครเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย
ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ
ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ
การฟ้อนรำผู้ไทย
นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆไว้บริการนักท่องเที่ยวและประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงอีกมากมาย
โดยเฉพาะบริเวณวัดพระธาตุ เรณูนคร และตลาดอำเภอเรณูนคร การฟ้อนผู้ไทยนับเป็นการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมแบบพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวผู้ไทยที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน
จากบรรพบุรุษของชาวเผ่าผู้ไทย ในสมัยก่อนเรียกการฟ้อนรำแบบนี้ว่า
"ฟ้อนละครไทย" เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน
โดยการจับกลุ่มเล่นฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนานในงานเทศกาลเดือนห้าและเดือนหก
ซึ่งจะมีประเพณี บุญบ้องไฟและมีการเฉลิมฉลองเพื่อนมัสการองค์พระธาตุเรณู
ในการฟ้อนรำสมัยก่อนนั้น เป็นการฟ้อนรำตามความถนัดและความสามารถ
ความชำนาญของแต่ละบุคคล ไม่ได้เน้นความเป็นระเบียบหรือความพร้อมเพรียงกัน แต่เน้นลีลาท่าฟ้อนรำต่างๆ
ที่แสดงออกมา ส่วนมากเป็นผู้ชายล้วนๆ จับกลุ่มฟ้อนรำกันเพื่ออวดสาวๆ
ปัจจุบันเป็นการฟ้อนรำของหญิงชายคู่กัน โดยยึดการรำแบบดั้งเดิมเป็นหลัก
นับเป็นศิลปะที่สวยงามละเอียดอ่อนหาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน
พระธาตุเรณู
ประดิษฐานอยู่ ณ บ้านเรณูนคร อำเภอเรณูนคร สร้างขึ้น พ.ศ. 2461
โดยจำลองมาจากองค์พระธาตุพนม สูง 35 เมตร
กว้าง 8.37 เมตร มีซุ้มประตู 4 ด้าน
ภายในเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำภายในวัดพระธาตุเรณูนครนอกจากมีองค์พระธาตุเรณูนครแล้วยังมีพระพุทธรูปพระองค์แสนน้ำหนัก
1,200 กิโลกรัม หน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร
สูง50เซนติเมตร ประกอบด้วยพุทธลักษณะสวยงามมาก
ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์วัดพระธาตุเรณูนคร
อำเภอนาแก
พระธาตุศรีคูณ
เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวนาแก ตั้งอยู่ในกลางอำเภอนาแก ห่างจากอำเภอธาตุพนม ตามทางหลวงสาย 212
ประมาณ 7 กม. แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงสาย 223
ไป 20 กม.ถึงอำเภอนาแก
เลี้ยวซ้ายถึงวัดพระธาตุศรีคูณ ซึ่งเป็นที่ตั้งพระธาตุศรีคูณ
มีลักษณะส่วนบนคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันตรงที่ชั้นที่ 1 มี 2
ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระธาตุพนม
อยู่ห่างจากบ้านนาแกน้อยไปประมาณ 6 กม.
เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ปราสาททอง บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
และพระอรหันต์ เดิมเป็นวัดที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ
ใช้เป็นที่ปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน
วัดภูพานลานสาวคอย
ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลานหินเรียบ
มีต้นไม้เบญจพรรณขึ้นประปราย เมื่อขึ้นถึงลานหินนี้แล้ว สามารถมองเห็นยอดพระธาตุพนม รวมทั้งหนองหารในจังหวัดสกลนครได้
ความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้เนื่องมาจากหนุ่มสาวชาวบ้านสมัยก่อนเวลาจะไปหาของป่าจะนัดหมายมาคอยกันที่นี่
หรือมาเที่ยวชมความงามกันที่นี่ตลอดเวลา จึงได้ชื่อว่าลานสาวคอย การเดินทาง
ห่างจากอำเภอนาแกประมาณ 6 กม. รถยนต์สามารถขึ้นไปถึงบริเวณลานสาวคอยได้
อำเภอปลาปาก
พระธาตุมหาชัย
ประดิษฐาน
ณ วัดโฆษดาราม ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ
39 กม. ตามเส้นทางนครพนม-สกลนคร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22
แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2276 เข้าวัดอีก 1.8
กม. ถนนคอนกรีตถึงบริเวณวัดพระธาตุมหาชัย
เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง
เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์สารีริกธาตุ
ภายในพระอุโบสถวัดโฆษดารามนอกจากพระประธานคือ
พระพุทธไชยสิทธิ์แล้วยังมีพระพุทธรูปสลักจากไม้ต้นสะเดาหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
และภาพเขียนบนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปกรรมที่งดงามมากในภาคอีสาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระธาตุมหาชัย
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 อันเป็นวันวิสาขบูชา
และที่วัดโฆษดารามนี้ยังเป็นที่ จำพรรษาของท่านพระครูสุนทรธรรมโฆษิต
(หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) พระเกจิอาจารย์สาย วิปัสนาที่สำคัญองค์หนึ่ง
ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครพนมและชาวอีสานทั่วไป
อำเภอนาหว้า
พระธาตุประสิทธิ์
ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ หมู่ที่ 13 ตำบลนาหว้า
อำเภอนาหว้า ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 98 กม.
เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ประชาชนในท้องที่ใกล้เคียงเคารพนับถือมาก
การเดินทางจากตัวเมืองนครพนมไปตามทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอท่าอุเทนถึงบ้านนาขมิ้น
จนถึงทางหลวงหมายเลข 2032 แยกซ้ายมือเข้าอำเภอศรีสงคราม
ระยะทางประมาณ 72 กม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น