วันอาทิตย์
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนมจังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า(เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม
ประวัติ
ตามตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า ท้าวพญาทั้งห้าผู้เป็นใหญ่ ได้แก่พญาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหานหลวง พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลนีพรหมทัต พญาอินทรปัตถ์ เจ้าเมืองอินทปัตถนคร และพญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรณ์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ ได้สร้างอูบมูงขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ตามพุทธพยากรณ์ โดยก่อสร้างด้วยดินดิบ (อิฐดิบ) ฐานพระธาตุพนมได้ขุดลงไปจนเป็นอูบมุง (อุโมง) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกส่วนหน้าอก เมื่อก่อด้วยดินดิบเสร็จแล้ว จึงได้ก่อไฟเผาพระธาตุเป็นเวลากว่าหลายวัน อิฐจึงได้แห้งสนิทจรดกัน ในพระธาตุพนม บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งประมาณ พ.ศ. 8 พระอุตรเถระและพระโสณเถระ สมรทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญมา และพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้า ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุพนมได้รับการบูรณะและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนมจังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า(เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม
ประวัติ
ตามตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า ท้าวพญาทั้งห้าผู้เป็นใหญ่ ได้แก่พญาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหานหลวง พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลนีพรหมทัต พญาอินทรปัตถ์ เจ้าเมืองอินทปัตถนคร และพญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรณ์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ ได้สร้างอูบมูงขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ตามพุทธพยากรณ์ โดยก่อสร้างด้วยดินดิบ (อิฐดิบ) ฐานพระธาตุพนมได้ขุดลงไปจนเป็นอูบมุง (อุโมง) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกส่วนหน้าอก เมื่อก่อด้วยดินดิบเสร็จแล้ว จึงได้ก่อไฟเผาพระธาตุเป็นเวลากว่าหลายวัน อิฐจึงได้แห้งสนิทจรดกัน ในพระธาตุพนม บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งประมาณ พ.ศ. 8 พระอุตรเถระและพระโสณเถระ สมรทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญมา และพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้า ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุพนมได้รับการบูรณะและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง
พ.ศ. 2233 พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) ปฏิสังขรณ์พระธาตุให้สูงขึ้น
พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้บูรณะให้สูงขึ้น
พ.ศ. 2518องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่
ให้คงสภาพเดิม
พ.ศ. 2522 การบูรณะโดยภาครัฐและเอกชน
เมื่อปี พ.ศ. 2485 วัดพระธาตุพนมฯ ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก
ชนิดวรมหาวิหาร" ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.38 น.
ด้วยเหตุที่มีฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวันและความเก่าแก่ขององค์พระธาตุ
พระธาตุพนมจึงได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์
ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม
การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522 นอกจากจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุดั่งเดิมแล้ว
ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้นบรรจุและประดับไว้ในองค์พระธาตุอีกด้วย โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ
ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 110 กิโลกรัม
บ่อน้ำวัดพระธาตุพนม
น้ำบ่อวัดพระธาตุพนม
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุ บริเวณกำแพงชั้นนอก ห่างจากพระธาตุพนมประมาณ 30 วา (60 เมตร) บ่อ กว้าง 1.50
เมตร ลึก 10 เมตร กรุข้างบ่อด้วยไม้แดง
บ่อน้ำเก่าแก่ น้ำใส รสจืดสนิท และมีน้ำอยู่ตลอดปี
ราษฎรส่วนมากใช้น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำดื่ม และใช้เป็นน้ำอภิเษกของจังหวัดนครพนมมีอยู่เพียงแห่งเดียว
สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก คือ บ่อน้ำพระอินทร์บริเวณพระธาตุพนม
วันจันทร์
วัดพระธาตุเรณู นคร
ตามความเชื่อที่ปรากฏในเรื่องการสักการะพระธาตุประจำวันเกิดในถิ่นอีสานมีความคล้ายคลึงกับคติความเชื่อของการไหว้พระธาตุทางภาคเหนือ
ที่เชื่อว่าสักครั้งหนึ่งในชีวิตควรหาโอกาสมาไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตัวเอง
ในจังหวัดนครพนมนั้นมีพระธาตุเรณู เป็นพระธาตุประจำตัวของผู้ที่เกิดวันจันทร์ซึ่งนิยมมาไหว้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเป็นมงคลกับชีวิตและเสริมวาสนาบารมี
ความเป็นมาของพระธาตุเรณู
นั้นได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2460 โดยพระอุปัชฌาย์อินภูมิโย
มีการจำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนมองค์เดิมในช่วงก่อนที่จะล้มลงในปี
พ.ศ.2518 แต่มีขนาดเล็กกว่า ประกอบด้วยซุ้มประตู 4 ด้าน
ภายในองค์พระธาตุเรณูนั้นบรรจุพระไตรปิฏก พระพุทธรูปทองคำ
พระพุทธรูปเงิน และของมีค่าที่ประชาชนนำมาบริจาค
รวมทั้งเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมืองเดิม มีการทำพิธีบรรจุพระบรมสาริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุเมื่อปี พ.ศ.2519ถือเป็นพระธาตุที่ได้รับการเคารพสักการะมากแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้แล้ว วัดพระธาตุเรณูยังเป็นที่ประดิษฐานของพระองค์แสนในพระอุโบสถ
อันเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลืองตันทั้งองค์ ซึ่งเชื่อกันว่ามีอายุนานกว่า 100 ปีแล้ว
โดยมีมาก่อนการสร้างองค์พระธาตุเรณูพระองค์แสนถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนครพนม
ที่ชาวนครพนมเคารพนับถือและศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง หากปีใดเกิดฝนแล้งก็จะอัญเชิญหลวงพ่อพระองค์แสนแห่ไปตามที่ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้เคารพบูชาและสรงน้ำเพื่อร่วมกันอธิษฐานให้ฝนตกลงมา
รวมถึงยังมีขบวนแห่อัญเชิญพระองค์แสนรอบเมืองในพิธีสรงน้ำพระวันสงกรานต์ด้วย
เทศกาล
งานประเพณี
งานเทศกาลนมัสการพระธาตุเรณูนคร
มีเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 11 -15 ค่ำ เดือน 4 (เดือนมีนาคม)
ความเชื่อและวิธการบูชา
เชื่อกันว่าผู้ที่ได้มาสักการะพระธาตุเรณูจะได้รับอานิสงส์ในด้านความเป็นสิริมงคลและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง
และมีรูปงามตรงตามลักษณะของเทวดานพเคราะห์แห่งวันจันทร์สำหรับการบูชาพระธาตุเรณูนั้น
ชาวนครพนมนิยมบูชาด้วยข้าวตอกน้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง
ดอกไม้สีเหลือง เช่นดอกคูณ ธูป 15
ดอก เทียนขาว 2 เล่ม
วันอังคาร
ห่างจากอำเภอธาตุพนมตามทางหลวงสาย
212 ประมาณ 7 กิโลเมตร
แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงสาย 223 ประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแก และเลี้ยวซ้ายถึงวัดพระธาตุศรีคุณ เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุศรีคุณซึ่งเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอนาแก
ลักษณะส่วนบนของพระธาตุคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันตรงที่ชั้นที่ 1 มี 2 ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น
และชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระธาตุพนม
พระธาตุศรีคูณ ประดิษฐานที่วัดพระธาตุ เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาว อ.นาแก
และเป็นพระธาตุประจำวันผู้เกิดวันอังคาร เชื่อกันว่าผู้ที่ได้มานมัสการจะได้รับอานิสงส์
ส่งผลให้มีศักดิ์ศรีทวีคูณ สิ่งของที่นำมาบูชา
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีชมพู ธูป 8 ดอก เทียน 2 เล่ม
วันพุธ
พระธาตุมหาชัย ประดิษฐานอยู่ ณ วัดโฆษดาราม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร ตามเส้นทางนครพนม-สกลนคร ใช้ทางหลวงหมายเลข 22 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2276 เข้าวัดอีก 1.8 กิโลเมตร ถนนคอนกรีตถึงบริเวณวัดพระธาตุมหาชัยเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ
เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอรหันต์สารีริกธาตุ
ภายในพระอุโบสถวัดโฆษดารามนอกจากพระประธานคือ
พระพุทธไชยสิทธิ์แล้วยังมีพระพุทธรูปสลักจากไม้ต้นสะเดาหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยด้วยและภาพเขียนบนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ
มีลวดลายศิลปกรรมที่งดงามหาดูได้ยาก
พระธาตุมหาชัย ประดิษฐานที่วัดพระธาตุมหาชัย
อ.ปลาปาก ซึ่งเป็นพระธาตุประจำวันของผู้ที่เกิดวันพุธ
เชื่อกันว่าผู้ได้นมัสการจะได้รับอานิสงส์ส่งผลให้ได้รับชัยชนะในชีวิต ส่วนของบูชา
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกบัว ธูป 17 ดอก เทียนขาว 2 เล่ม
วันพฤหัสบดี
พระธาตุประสิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ หมู่ที่ 13
ตำบลนาหว้า ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 98 กิโลเมตร
สามารถเดินทางจากตัวเมืองนครพนมไปตามทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอท่าอุเทนถึงบ้านนาขมิ้น
ถึงทางหลวงหมายเลข 2032 แยกซ้ายมือเข้าอำเภอศรีสงคราม
ระยะทางประมาณ 72 กิโลเมตร
พระธาตุประสิทธิ์มีความสำคัญ
และความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นพระธาตุองค์เดียวในประเทศไทย
ที่มีการบรรจุสิ่งสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาไว้ครบหมด
เป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่เป็นปูชนียวัตถุ
ที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้สักการะเป็นอย่างยิ่ง เป็นหลักยึดเหนี่ยวของพระพุทธศาสนิกชนทั่วไป
จัดว่าเป็นขุมทรัพย์อันประเสริฐของชาวพุทธโดยแท้ สิ่งของบูชาพระธาตุมีข้าวตอก
น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีส้ม ธูป 19 ดอก เทียนขาว 2 เล่ม พระธาตุประสิทธิ์เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า
ประชาชนในท้องที่ใกล้เคียงเคารพนับถือมาก เป็นพระธาตุประจำวันผู้เกิดวันพฤหัสบดี
เชื่อกันว่าผู้นมัสการจะได้รับอานิสงส์ ส่งผลให้ทำการงานสัมฤทธิผล ส่วนของบูชา ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีส้ม ธูป 19 ดอก เทียน 2
เล่ม
วันศุกร์
พระธาตุท่าอุเทน ตั้งอยู่ภายในวัดท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ใกล้กับที่ว่าการอำเภอท่าอุเทน
องค์พระธาตุก่ออิฐถือปูนเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สร้างเป็น 3
ชั้น ชั้นแรกเป็นอุโมงค์บรรจุของมีค่าต่าง ๆ ชั้นที่ 2 สร้างครอบอุโมงค์ ชั้นที่ 3 คือเจดีย์องค์ใหญ่
สูงประมาณ 15 เมตร พระอาจารย์ศรีทัตถ์เป็นผู้สร้างเมื่อปี พ.ศ.
2454 พระธาตุนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง
บรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งพระอาจารย์ศรีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง จะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น
13 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี พระธาตุองค์นี้มีสิ่งที่ตรงกับเทพประจำวันศุกร์ และเชื่อกันว่าผู้ที่เกิดวันนี้เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
รักอิสระ รักสวยรักงาม คือพระธาตุหันไปทางทิศเหนือของพระธาตุพนม
ตรงกับทิศประจำของพระศุกร์
ผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุแห่งนี้จะได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์
เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ขึ้นยามรุ่งอรุณ
พระธาตุท่าอุเทน ประดิษฐานที่วัดพระธาตุท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน ซึ่งเป็นพระธาตุของผู้ที่เกิดวันศุกร์
เชื่อกันว่าจะได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตรุ่งโรจน์เหมือนพระอาทิตย์
ส่วนสิ่งของบูชา ประกอบด้วย ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง
ดอกไม้สีน้ำเงินหรือฟ้า ธูป 21 ดอก เทียน 2 เล่ม
วันเสาร์
ธาตุนครเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์
คาถาบูชาดวงประจำวันเกิดวันเสาร์คือ "โส มา ระ กะ ริ กา โธ
"สวดบูชาวันละ ๑๐ จบ ชื่อคาถาพระนารายณ์ถอดจักร ใช้ทางถอดคุณไสยศาสตร์
ประจำอยู่ทิศหรดี คือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ
ถนนสุนทรวิจิตร อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม พระธาตุนครมีลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัส
กว้างด้านละ ๕.๘๕ เมตร สูง ๒๔ เมตร ก่อสร้างเสร็จในเดือนเพ็ญของปี ๒๔๖๕
มีรูปแบบคล้ายพระธาตุพนมองค์เดิม องค์ก่อนที่จะสร้างขึ้นใหม่ที่เห็นในปัจจุบัน
ภายในบรรจุพระอรหันต์สารีริกธาตุ พร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำ และของมีค่าต่าง ๆ
ที่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย เพื่อบรรจุไว้ในองค์พระธาตุพระธาตุนคร
เป็นประธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์
เชื่อกันว่าไม่ว่าผู้ใดจะเกิดวันไหนก็ตาม
หากได้มีโอกาสไปนมัสการพระธาตุองค์นี้แล้ว จะได้รับอานิสงค์ส่งเสริมบุญบารมี และมีอำนาจวาสนา
เป็นเจ้าคนนายคนพ.ศ.๒๔๖๒เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ และเจ้าคณะจังหวัดนครพนม
จึงเชิญญาติโยมและข้าราชการมาประชุม มีท่านเจ้าเมืองมาประชุมด้วย
เพื่อจะค้นหาว่าแสงสว่างที่เกิดขึ้นนั้นมาจากที่ใด เพราะองค์พระธาตุในวัด
ก็เก่าแก่ทรุดโทรมมาก ด้วยไม่ได้มีการบูรณะมานับพันปีแล้ว จึงเห็นควรรื้อถอน
เพื่อพื้นที่วัดจะได้กว้างขึ้น จึงตกลงรื้อถอนเพื่อค้นหาพระธาตุ พอรื้อไปได้สัก ๔
- ๕ ธาตุ ก็พบเข้าจริง ๆ เป็นพระธาตุองค์เล็ก เก่าแก่มากมีรากต้นโพธิ์ร้อยรัดอยู่
ไม่น่าเชื่อว่าจะมีอรหันต์ธาตุอยู่
พอเปิดดูข้างในพระธาตุก็พบผอบไม้จันทร์แดงอยู่หนึ่งใบ
และใต้พระธาตุยังมีงูดำตัวใหญ่ ขนาดลำแข้งของคนตัวใหญ่ ๆ อยู่ตัวหนึ่ง นอนนิ่งอยู่
น่าจะเป็นงูผู้รักษาพระธาตุ จากนั้นนำผอบไปเปิดดูที่อุโบสถก็พบว่ามี
พระพุทธรูปทองคำขนาดหน้าตัก ๒ นิ้ว ๔ องค์พระพุทธรูปเงิน ๒ องค์ แผ่นทอง บาง ๆ ยาว
ๆ ประมาณ ๑ คืบ ๑ แผ่น และมีผอบไม้จันทร์แดงขนาดเท่าไข่เป็ดอีก ๑ ผอบ
เปิดดูมีพระสารีริกธาตุอยู่ ๒๐ องค์ ขนาดเท่าเม็ดพุทรา มีนานฝ้ายห่อหุ้มอยู่ จากนั้นจึงมีการประชุมเพื่อหาฤกษ์งามยามดี
สร้างพระธาตุขึ้นเพื่อบรรจุพระอรหันต์สารีริกธาตุ และพระธาตุนคร
ก็ได้เริ่มสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๖๕นับเป็นพระธาตุคู่เมืองนครพนมหากมาจากธาตุพนมตามถนนสาย
๒๑๒ หรือมาจากสกลนครตามถนนสาย ๒๒ เมื่อมาถึงริมโขงมีสามแยกก็ตรงมา
หรือเลี้ยวซ้ายเข้าเมือง ผ่านโรงแรมที่ผมพัก
ซึ่งโรงแรมนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งโขงในจุดที่มีวิวสวยมาก โดยเฉพาะยามเช้า
ชมดวงอาทิตย์ขึ้นไปต้องไปชมที่ไหน ตื่นให้ทัน ชมจากหน้าต่างห้องพักนั่นแหละ
และหากคืนเดือนหงายแสงจันทร์จะทอดมายังชายหาดสีทอง มีเกาะทรายหน้าโรงแรม มีน้ำไหล
และกระทบแสงจันทร์แล้วจะสวยมากสิ่งของบูชาพระธาตุ ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง
ธูป ๑๐ ดอก เทียน ๒ เล่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น